วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม


ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม 
ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด (ทิศนา แขมมณี. 2548 : 50) ดังต่อไปนี้
        1.ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory) มีหลักเบื้องต้นว่า
การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
        2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่มีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น เช่น สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ำลายไหล เป็นต้น
       3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory) ฮัลล์ได้ทำการทดลองทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ คือ การทดลองโดยฝึกให้หนูกดคาน จึงได้อาหาร
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
         1.   ในการจัดการเรียนการสอน ควรคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด
          2.  ผู้ เรียนมีระดับของการแสดงออกไม่เท่ากัน ในการจัดการเรียนการสอน ควรให้ทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อผู้เรียนจะได้สามารถตอบสนองตามระดับความสามารถของตน
           3.  การให้การเสริมแรงในช่วงที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด จะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
           4.   ช่วยครูให้ทราบว่าผู้เรียนที่มีผลการเรียนดี  ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว  แต่มีองค์ประกอบอื่น ๆ   เช่น  แรงจูงใจ  ทัศนคติ  หรืออัดมโนทัศน์ของผู้เรียนและความคาดหวังของครูที่มีต่อผู้เรียน

        5.  ช่วยครูในการปกครองชั้นเรียน  และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น